วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธี Reset ตลับหมึก HP



* * ใช้ Reset ให้เครื่องยอมรับตลับหมึก อย่าเสี่ยงใช้ Reset ให้หมึกเต็ม
เพราะถ้าทำผิดขั้นตอนจะทำให้ตลับเสีย เครื่องเตือนหมึกหมดก็ไม่ต้องสนใจ reset ตราบใดที่ยังพิมพ์งานได้ครับ * *

** สำหรับเครื่องที่มีไฟเตือนหมึกหมด ไม่ต้องสนใจไฟกระพริบเตือน
(ปกติจะมีไฟเตือนตลับสีและตลับดำ) ให้สนใจเฉพาะไฟเตือน "!" **

อย่า reset โดยพร่ำเพรื่อครับ กรณีขึ้นตัว "E" ให้ตรวจเช็คดูก่อน
1. กระดาษหมดก็จะขึ้นตัว "E"
2. ลองเปิดฝา แล้วปิดใหม่ ตัว "E" อาจจะหายไปเอง
3. ถอดตลับออกมาเช็ดทำความสะอาด ที่ปุ่มทองแดงตัวตลับและปุ่มทองแดงในช่องรับตลับหมึก
4. ได้ทำการ Alignment ครบทุกขั้นตอนหรือไม่
เพราะทุกครั้งที่เครื่องพิมพ์หน้า Alignment ออกมา
ต้องเอาหน้านั้นวางคว่ำบนกระจกแล้วกดปุ่ม Scan 1 ครั้ง ถึงจะครบขั้นตอน


ปกติเวลาถอดตลับหมึกออกจากเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ HP ต้องตัดไฟก่อนครับ
ไม่งั้นเครื่องพิมพ์จะจำ ID ของตลับหมึกไว้
หากไม่ตัดไฟก่อนถอดตลับ พอถอดเข้า ๆออก ๆไม่กี่รอบขึ้นไฟแดงไม่รับตลับหมึก
อย่าเพิ่งตกใจครับพี่น้อง ตลับไม่ได้เสีย ลองเอาไปใส่เครื่องอื่นใช้งานได้ฉลุย
แต่ถ้าจะใช้กับเครื่องเดิม ต้อง Reset ครับ โดยมีขั้นตอนดังนี้

สำหรับตลับสีดำ (เบอร์ 21, 27, 56, 58)
ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยไม่จำเป็นต้องตัดไฟก่อนถอด+ใส่ ตลับนะครับ

1. ถอดตลับออกมาติด เทปตรงปุ่มทองแดง #1
2. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องขึ้นไฟแดงไม่รับตลับหมึก
3. ถอดตลับออกมาติดเทปตรงปุ่มทองแดง #2 (ปุ่ม #1ก็ติดเทปอยู่ยังไม่ต้องแกะออก)
4. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องขึ้นไฟแดงไม่รับตลับหมึก
5. ถอดตลับออกมา แกะเทป #1 #2 ออก
6. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ OK พร้อมใช้งาน





วิธี reset ตลับดำเบอร์ 74 จากคุณฟรอนเทียร์683

สำหรับตลับสี (เบอร์ 22, 28, 57)
1. ถอดตลับออกมาติด เทปตรงปุ่มทองแดง #1
2. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องขึ้นไฟแดงไม่รับตลับหมึก
3. ถอดตลับออกมาติดเทปตรงปุ่มทองแดง #2 (ปุ่ม #1ก็ติดเทปอยู่ยังไม่ต้องแกะออก)
4. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องขึ้นไฟแดงไม่รับตลับหมึก
5. ถอดตลับออกมา แกะเทป #1 #2 ออก
6. ใส่ตลับเข้าเครื่องพิมพ์ OK พร้อมใช้งาน




วิธี reset ตลับสีเบอร์ 75 จากคุณฟรอนเทียร์683

ข้อควรระวัง
=======
การถอดตลับเข้า-ออกบ่อย ๆ เวลาใส่อย่ากระแทกแรงนะครับ
ลายทองแดงบนตลับหมึก จะโดนกระแทกบุ๋มมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนในที่สุดบุ๋มลึกไม่สัมผัสกับปุ่มทองแดงในเครื่อง ไม่ครบวงจร
เครื่องมองไม่เห็นตลับ ถ้าเอายางลบถูลายทองแดงไม่หายก็ต้องซื้อตลับใหม่

วิธี Hard Reset
============
วิธีนี้ก็สามารถ Reset ตลับหมึกให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง
ซึ่งทาง HP เปิดช่องทางแก้นี้ไว้ให้สำหรับเครื่องบางรุ่น
ทำให้ระบบป้องกันหมึกเติมของ HP ไม่โหดเกินไปนัก

1. เปิดเครื่อง เปิดฝาให้ตลับเลื่อนมาแล้วถอดตลับออกทั้ง 2 ตลับ
2. ปิดฝา ปิดเครื่อง ดึงปลั๊กไฟออก ปลั๊ก USB ออก
3. ตั้งเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที หรือทั้งคืนก็ยิ่งดี เพื่อให้ไฟที่เลี้ยงหน่วยความจำหมดไป
4. เมื่อไฟหมด เครื่องก็ความจำเสื่อม ไม่สามารถจำเบอร์ ID ของตลับหมึกได้อีก
5. ประกอบเครื่องเข้าใหม่อีกครั้ง เหมือนตอนเพิ่งซื้อเครื่องมาใหม่ ๆ
6. เปิดเครื่อง เครื่องร้องเรียกหาตลับหมึกก็ใส่ตลับหมึกเข้าไป

ปล. บางรุ่นจะมีแบตกลมอยู่ข้างในเครื่อง ถ้าถอดแบตออกก็เท่ากับ reset ไปในตัว

วิธีใช้ตลับ 3 ชุด reset
=============
เครื่องพิมพ์ HP จะมีหน่วยความจำ สามารถจำ ID ของตลับได้ 2 ตลับเท่านั้น
ดังนั้นถ้าเราสามารถหาตลับจากที่อื่นมา 2 ชุด ก็สามารถใส่ล่อหลอกเครื่องได้
ตลับของเราที่เครื่องไม่ยอมรับ (เพราะจำ ID ได้) ใส่เป็นชุดที่ 3 ก็จะสามารถใช้งานได้อีกครั้ง

ปล. ผมเคยลองใช้วิธีนี้กับตลับเบอร์ 21-22 ได้ผลดี ไฟหายกระพริบ+เครื่องมองเป็นตลับใหม่+หมึกเต็ม


------------------------------------------------------------------------
อย่างไรก็ตาม พบว่าเครื่องรุ่นใหม่ที่ออกมาขายในท้องตลาด
เริ่มมีการล๊อคตลับแถม (Introductory) สามารถเติมหมึกได้ไม่กี่ครั้ง
พิมพ์งานได้ประมาณ 300 กว่าหน้า เครื่องจะล๊อคตลับแถม
แต่ถ้าผู้ใช้ตัดไฟก่อนถอด-ใส่ ตลับหมึกทุกครั้งไม่พลาดเลย
ก็สามารถเติมหมึกพิมพ์งานไปเรื่อย ๆ

ตลับแถมที่ถูกล๊อคไม่ได้เสีย แต่เครื่องที่ผ่านการพิมพ์งาน 300 กว่าหน้า
จะไม่รับตลับแถม

ซึ่งเท่าที่พบมีเครื่อง F2235 ซึ่งใช้ตลับ 21-22
เครื่อง F2480 ซึ่งใช้ตลับ 60

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การกำหนดค่า DNS Clients

ส่วนประกอบในการทำงานหนึ่งของ DNS คือ DNS client ซึ่งต้องระบุหมายเลขที่ใช้กับ DNS Serverการกำหนดค่าติดตั้ง Clientทำได้โดย- กำหนดค่า DNS computer ในแต่ละเครื่อง ซึ่งชื่อที่กำหนดเป็น FQDN- กำหนด Primary DNS suffix สำหรับเครื่อง- กำหนดรายการ DNS ที่ต้องการแก้ปัญหา กำหนดได้มากกว่าหนึ่งหมายเลข IPงานที่ทำในการกำหนดค่ามี- กำหนดค่า DNS suffix เพื่อกำหนดลำดับการค้นหา พิมพ์ได้สั้นเวลาเรียกใช้- กำหนดการเชื่อมต่อ DNS suffix กับการ์ที่ต่อในเครื่อง (อาจจะมีหลายใบ)- แก้ไข Dynamic DNS

การกำหนดชื่อเครื่อง DNS computerเราสามารถที่กำหนดไม่เกิน 63 ไบต์ จากเอกสาร RFC 1123 ค่าที่กำหนดเป็น A- Z, a-z, 0-9, -ชื่อที่กำหนดสามารถที่ใช้ใน NetBIOS ได้การกำหนดค่า Primary DNS Suffixสามารถกำหนดได้จาก System Properties > แท็บ Computer และเลือกที่ปุ่ม Changeนอกจากค่าชื่อเครื่องยังกำหนดค่าในการระบุ DNS suffix ได้ด้วยกำหนดค่าในรายการ DNS Server โดยหน้าจอดีฟอลท์กำหนดได้สองรายการคือ Preferred DNS Server/Alternate DNS Serverเราสามารถที่กำหนดได้มากกว่า 2 DNS Serverการทำงานแก้ปัญหาชื่อDNS Client จะติดต่อกับ DNS Server ใน 1 วินาที ถ้าไม่ตอบก็จะตรวจสอบที่ DNS server ตัวแรกอยู่อีก 2 วินาที ถ้าไม่ได้ก็จะเป็น 4 วินาที ถ้าไม่ได้ก็จะเป็น 8 วินาที ถ้ายังไม่ได้อีกก็จะหาที่เครื่องอื่นๆ โดยถ้าระบบตอบเป็นบวกก็จะยุติการค้นหาทันทีรายการค้นหา DNS Suffix เราสามารถที่กำหนด Default DNS suffix และกำหนดรายการเพิ่มได้ ซึ่งรายการที่กำหนดเพิ่ม เมื่อเราพิมพ์ชื่อสั้นไปก็จะนำชื่อไปต่อกับ Suffix ที่ระบุ โดยดูทีละรายการ

การกำหนดออปชั่นใน Dynamic Updateเราสามารถที่ใช้เครื่องทำการอัพเดตทั้ง A และ PTR ใน DNS client ของระบบปฏิบัติการ Windows 2000/XP/2003 หรือจะใช้ DHCP เข้าช่วยค่าที่อัพเดตอัตโนมัตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกข่ายตรวจสอบแล้วแมชกับ Zone name ที่อยู่ใน Preferred DNS หรือจะกล่าวว่าการอัพเดต FQDN ชื่อที่กำหนดใน Domain name หรือ Zone name ต้องตรงกันค่าดีฟอลท์ของ Client Updateโดยดีฟอลท์จะกำหนดเป็น Static IP Address และต้องระบุค่า Domain suffix ที่ลงทะเบียน ซึ่งระบบจะทำการอัพเดตทั้ง A ใน Forward กับ PTR ใน Reverse ด้วยDNS client ในระบบปฏิบัติการ windows NT, ME ต้องใช้ DHCP เข้าช่วยคำสั่งที่บังคับให้ทำการลงทะเบียนอัตโนมัติคือ ipconfig /registerdns

การดู และการเคลียร์ค่า DNS Resolver Cacheเราสามารถที่ให้ DNS client ทำการเคลียร์แคชโดยไปกำหนด Resolver cache และเช็กบ็อกซ์ก่นอที่ DNS Clients จะค้นหาการดูแคชเราสามารถที่ใช้คำสั่ง ipconfig /displaydns เพื่อโหลดค่าในไฟล์ Hosts และค่าที่เคยติดต่อการเคลียร์แคชใช้คำสั่ง ipconfig /flushdns เพื่อให้เริ่มการบริการใหม่ หรือรีสตาร์ท DNS Service ก็ได้

การกระจาย DNS Servers

ในเครือข่ายส่วนตัวเราสามารถที่กำหนด Namespace เองได้ และเราอนุญาตให้ Clients ไปแก้ปัญหาชื่อบน Internet โดยไม่ต้องอายุการค้นหา DNS server ภายนอกโดยตรงได้การติดตั้ง DNS Server Serviceเราสามารถกำหนดค่า Windows Server 2003 และ Windows XP ให้เป็น DNS Client แต่ถ้าเป็น DNS server กำหนดได้เฉพาะใน Windows Server 2003 โดยเราต้องเพิ่มบริการ DNS Server ก่อน (จาก Add role ใน Manage Your server หรือใน Add/Remove Windows Components)เราสามารถที่ไปที่ Administrative Tools > DNS เพื่อกำหนดค่าและจัดการ DNS Server Services ได้การกำหนดค่าใน DNS Serverในการสร้างโซนใหม่จะมีขั้นตอนเป็น Wizard ที่เรียกว่า DNS Server Wizard ซึ่งจะมีการกำหนดบทบาท DNS Server และค่าที่จัดเก็บฐานข้อมูล เราสามารถที่เรียก DNS Server Wizard ได้ในตอนหลังโดยคลิกขวาที่ Computer Node ใน DNS Management

การสร้างโซนโซนมีสองประเภทคือ Forward lookup และ Reverse lookup โดยทั่วไปเราจะแก้ปัญหาจากชื่อโฮสต์เป็น IP Address เรียกว่าใช้ Forward lookup zone ถ้าจาก IP Address เป็นโฮสต์ก็จะเป็น Reverse lookup zoneการสร้างทั้ง Forward และ Reverse จะต้องกำหนดชื่อโซนก่อนชนิดโซนแบ่งเป็นบทบาทต่างๆดังนี้- Primary เป็นชนิดที่รองรับข้อมูล และการจัดการข้อมูลต่างๆ- Secondary เป็นโซนที่สำรองจาก Primary Zone และสามารถที่โอนถ่ายฐานข้อมูลจาก Primary หรือ Secondary อื่นได้- Stub เป็นการก๊อปปี้เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นจาก Master zone

เข้าใจเกี่ยวกับชนิดเครื่อง Serverจะมีบทบาท Primary, Secondary, และ Caching- Primary Server แบ่งเป็นสองแบบ สามารถที่อัพเดตข้อมูลส่งไปที่ Secondary สามารถที่ป้องกันข้อมูลในการโอนถ่ายไฟล์โดยกำหนด Zone transfer - Standard Primary Zones เป็นเครื่องหนึ่งเดียวในโซน และรองรับมาตรฐาน - Active Directory-Integrated Zones เป็นการทำงานรองรับกับ Active Directory มีกลไก Fault- tolerance และจะถูกสร้างใน Active directory Domain controller- Secondary DNS สามารถดึงข้อมูลจาก Primary หรือ Secondary ได้ โดยเครื่องที่ดึงมาเป็นบทบาท Master ซึ่งถ้า Master ไม่ให้ Zone transfer ก็จะดึงข้อมูลมาไม่ได้- Stub servers เป็นการก๊อปปี้ข้อมูลอย่างย่อเฉพาะในรายการที่ได้รับอำนาจสำหรับ Master zone บ่อยครั้งจะใช้กับ parent zone เพื่อเก็บข้อมูลที่อัพเดต- Caching only เป็นการกำหนดให้ค้นหาอย่างเดียวไม่มีการกำหนดชื่อโดเมน เป็นเพียงให้ DNS client ชี้มา ค้นหาข้อมูลที่เก็บไว้อยู่ในฐานข้อมูลแคชในการตรวจสอบระบบของ Cache ถ้าไม่พบจะวิ่งไปที่ Root-level DNS Server โดยมีการค้นหาตามลำดับชั้นการตั้งค่าใน DNS Serverไฟล์แรกคือ BOOT จะเริ่มจากการสร้างไฟล์ฐานข้อมูลเรียกว่า Zone file (มี Primary, Secondary, Cache มีกี่ไฟล์ก็ได้ใน DNS Server) และใน Zone file ก็จะเก็บ Resource Record ที่นิยมใช้มี NS, A, CNAME, MX - เรคคอร์ดแรกเรียกว่า Start of Authority (SOA) มีการกำหนดข้อมูลไม่ว่าจะแคชของเวลา หรือ Serial อื่นๆ- NS คือ Name Server เป็นการระบุ DNS server- A คือ Address ที่กำหนดชื่อ Host name กับ IP Address ในเพิ่มสามารถที่กำหนดด้วยมือด้วยคำสั่ง Dnscmd หรือ DNS
หรือใช้ DNS client ใน Windows 2000/XP2003
หรือใช้ DHCP ช่วย- C-name คือการกำหนด Cannonical Name หรือชื่อเล่นต้องมีการกำหนด A ก่อน และใช้ชื่อมากเปลี่ยนเป็นชื่อเล่นอีกชื่อ- MX คือ Mail Exchange จะบอกเครื่องใดเป็นที่แลกเปลี่ยน Mail มีการกำหนดลำดับความสำคัญด้วย- PTR เป็นเรคคอร์ดที่ใช้ร่วมกับ Reverse lookup zones ตัวอย่างเช่น172.16.48.1 กับชื่อ server1.xyz.com ก็จะเป็นเรคคอร์ด1 PTR Server1.xyz.com ใน Reverse lookup zone- SRV เป็นเรคคอร์ด Service location ในระบุหน้าที่ของบริการด้วย โดย DNS จะให้ค่า Application servers ไปด้วยใน Windows Server 2003 Active Directory ใช้กับ Netlogon, LDAP เป็นต้น ตัวอย่างอยู่ที่โฟลเดอร์ _ldap._tcp.xyz.com เมื่อเข้าไปดูจะมี _ldap._tcp SRV 0 0 389 dc1.xyz.com
โดยค่าที่กำหนด 386 เป็นพอร์ตนั่นเองหมายเหตุ Reverse Lookup Zone เป็นการโดยใช้หมายเลข IP Address ที่มีการกลับหมายเลข Network ID ตัวอย่างเช่น 192.59.66.0 เป็น Network ID และกลับมาเป็น 66.59.192.in- addr.arpaตัวอย่างรูปแบบข้อมูลเรคคอร์ดOwner TTL Class Type RDATA
Owner เป็นชื่อของโฮสต์ หรือ DNS domainTTL เป็นเวลาที่กำหนดวินาที 32 บิตกำหนดค่าที่เก็บในแคชClass บอกค่า Protocol ที่ใช้ เช่น IN เป็น InternetType เป็นค่าบอกชนิดเช่น A หรือ SRV เป็นต้นRDATA เป็นค่าที่ปรับเปลี่ยนได้ และเป็นข้อมูล

เราสามารถที่ดูแคชใน DNS Server ได้โดยไปที่เมนู View > Advanced และคลิกเข้าไปดูในโฟลเดอณื Cached lookup ถ้าต้องการให้เริ่มใหม่ใช้คำสั่ง dnscmd /clearcacheการแก้ปัญหาเรื่องชื่อโดยใช้ไฟล์ Hostsเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้◦กำหนด IP Address กับ Hostname ในทุกๆเครื่อง ◦สร้างไฟล์ Hosts แม็บในแต่ละเครื่อง ◦วางตำแหน่งในแต่ละเครื่อง ตัวอย่างการสร้างไฟล์ ให้นำหมายเลข และชื่อ ถ้าต้องการเพิ่มคำแนะนำใช้ #การแก้ปัญหาเรื่องชื่อโดยใช้ DNS Nameมีการออกแบบที่มีการอัพเดตโดยในแต่ละ DNS เองมีการรองรับการร้องขอชื่อเป็น IP Address ดูขั้นตอน การทำงานของ DNS- ถ้า Name server สามารถหาชื่อเจอได้จากฐานข้อมูลตนเองจะส่งตอบกับ Client- ถ้าไม่พบในฐานข้อมูลตนเอง จะทำการค้นหาที่ DNS อื่น และส่งไปให้ Client ทราบDNS Server สามารถกำหนดได้หลายเครื่อง เพื่อกระจายโหลดองค์กร โดยลูกข่ายสามารถติดต่อกับ DNS Server ตัวใดก็ได้ DNS namespace จะมีการแบ่งทำงานเป็นระดับชั้น ในกรณีที่ระบบวิ่งหาจะไปที่ (.) หรือ Root และต่อไปเป็นชื่อโดเมนที่เรียกว่า Top Level domain (TLDs) ถ้ามีชื่อประเทศก็จะเป็น .th (Thailand) และ .jp (Japan) เป็นต้นระบบการหาชื่อจะทำการตรวจสอบเป็นทีละชั้นกระบวนการทำงาน จะมีขั้นตอนการทำงานต่างๆข้อมูลเหล่านี้หาดูได้จาก www.icann.org (ย่อจาก Internet Corporation For Assigned Names and Numbers)การลงทะเบียนในโดเมนการลงทะเบียนชื่อให้ไปจดที่ ICANN ซึ่งเข้าไปใน www.internic.net จะได้ .com, .net, .gov และอื่นๆถ้าต้องการลงทะเบียนในประเทศไทยไปที่ www.thnic.net จะได้ .th

การตั้งค่าใน DNS Clientเราสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติได้จาก Internet Protocol (TCP/IP) Propertiesการใช้เครื่องมือ DNSมีทั้งการใช้เครื่องมือตรวจสอบ และการใช้งาน เช่น Ping, FTP, Browser, Telnet เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดสามารถเรียกใช้ได้ทั้ง FQDN และ IP Address ก็ได้การตรวจสอบชื่อด้วยการ Pingตัวอย่าง Ping 192.1.14.2 หรือใช้ชื่อ Ping williepc.remotenet.com แต่ถ้าเป็นชื่อต้องกำหนด DNS ด้วยการตรวจสอบชื่อด้วยคำสั่ง Nslookupเป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบโดยมีทั้ง Batch mode และ Interactiveตัวอยางการใช้งานเช่น Nslookup
พิมพ์ Help ถ้าต้องการดูคำช่วยเหลือLs –d ชื่อโดเมนถ้าต้องการเปลี่ยนเครื่อง Server ให้ใช้คำสั่ง server ชื่อFQDN หรือ IPAddressDynamic DNSในระบบ BIND 8.1.2 รองรับการทำงาน Dynamic Update รวมถึง Windows 2000 ด้วยเช่นกัน ซึ่ง DHCP สามารถแจกหมายเลข IP Address พร้อมกับอัพเดตชื่อใน DNS ได้

ความเข้าใจ DNS ในเครือข่าย Windows Server 2003

Name resolution คืออะไรใน TCP/IP เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้กันอย่างมากซึ่งผู้เรียนรู้ว่าใช้ระบบ IP Address และวิธีที่สะดวกในการติดต่อระหว่างกันที่ดีกว่าหมายเลข IP Address คือการใช้ระบบรายชื่อ ที่เรียกว่า hostnameในระบบแรกๆจะมีการใช้ไฟล์ Hosts ซึ่งจะมีการใช้ Hosts.txt ที่เก็บไว้ส่วนกลางร่วมกันผู้ออกแบบคือ SRI-NIC (Standford Research Institute Network Information Center)ชื่อที่ใช้ Fully Qualify Domain Name หรือ FQDN มีการใช้ชื่อ Hostname+Domain Nameในระบบของไฟล์ที่ดีรองรับหลายล้านโหนดต้องมีการแก้ปัญหาดังนี้- กระจายความรับผิดชอบใน DNS- และกำหนดในแก้ปัญหาชื่อใน Local กันเองสิ่งทั้งสองเรียกว่า Domain Name System (DNS) เป็นมาตรฐาน BIND (Bekeley Internet Name Daemon)เข้าดูรายละเอียดที่ http://www.isc.orgโครงสร้าง DNSสิ่งที่ต้องรู้มี- DNS Namespace เป็นรูปแบบชื่อโฮสต์ซึ่งจะเริ่มจาก Root คือ . แต่ต่อชื่อโดเมนจากหลังมาหน้าจนถึงชื่อโฮสต์- Domain Names เป็นชื่อที่ประกาศในกลุ่มใช้ - Internet Domain Namespace เป็นชื่อที่ขอจากผู้กำหนดชื่อเช่น ICANN หรือ thnic เราสามารถที่กำหนดในระดับชั้นบนสุด ซึ่งจัดการโดย ICANN และกำหนดต่อมาตามผู้ดูแล- โดเมนตามองค์กร ซึ่งจะมีโค้ดสามอักขระเช่น .com, .net- โดเมนตามภูมิประเทศ จะกำหนดตามประเทศเช่น .jp คือ Japan หรือ .th คือ Thailand เป็นต้น- การใช้โดเมน Reverse เป็นชื่อที่กำหนดย้อนกับหมายเลข IP Address ที่ใช้ โดยส่วนใหญ่เราจะใช้แก้ปัญหาจากชื่อโฮสต์เป็นหมายเลข IP Address แต่ถ้า Reverse จะนำ IP address ไปหาชื่อโฮสต์Private Domain Namespaceเป็นชื่อที่กำหนดขึ้นเองใช้ในองค์กร สามารถที่กำหนดอิสระจากชื่อในอินเตอร์เน็ต

ส่วนประกอบ DNSประกอบด้วยDNS Server เป็นเครื่องที่ดูแลระบบรายชื่อ DNS Clientsต้องระบุเรียกใช้ เราสามารถกำหนดใน Windows Server 2003 ได้เป็น - Active Directory Integrated
- Standard Primary
- Standard Secondary
DNS Zones เป็นชื่อที่กำหนดซึ่งมีรูปแบบต่อเนื่อง และเราสามารถที่กำหนดโดเมนย่อยๆลงมาได้DNS Resolvers เป็นเครื่องที่รองรับ DNS protocol ใช้ค้นหาข้อมูลจาก DNS Server ตัวอย่างเช่น DNS clientเรคคอร์ดที่กำหนด เป็นเรคอร์ดที่อยู่ใน DNS นิยมใช้มี Host address (A), alias (CNAME), Mail Exchange (MX) ดูข้อมูลเพิ่มจากเอกสาร Help ใน Windows Server 2003

เข้าใจเกี่ยวกับ DNS Query ทำงานอย่างไรเมื่อลูกข่ายส่งไปถาม DNS Server จะมีข้อมูลสามชุดดังนี้- DNS domain name พิจารณาจาก FQDN- ชนิดที่ค้นหา โดยดูที่เรคคอร์ด- คลาสที่รองรับสำหรับ DNS domain name (โดยส่วนใหญ่เป็น Internet คือ [IN])วิธีการแก้ปัญหาชื่อ DNSจะมีการส่งคำร้องจาก DNS Client ไปหาข้อมูลใน DNS Server ซึ่งจะมีการตรวจสอบในแคช และถ้ามีการติดต่อเครื่องอื่นๆจะต้องทำงานในรูปแบบ Recursionขั้นตอนการค้นหามีสองส่วน- ชื่อที่ค้นหาจะดูที่ลูกข่าย และส่งไปแก้ปัญหา- เมื่อแก้ปัญหาที่ลูกข่ายไม่ได้ก็จะส่งมายัง DNS Server

ลูกข่ายจะค้นหาที่เครื่องก่อนโดยดูในแคชที่มีอยู่ และส่งไปดูที่ไฟล์ Hosts ถ้าไม่มีจะหาใน Server ซึ่งจะมีแคชของ Server และชื่อใน Zones นั้นๆถ้าไม่มีก็จะเป็นการติดต่อระหว่าง Server กับ Server ขั้นตอนนี้เรียกว่า Recursion Local cache จะเก็บไว้อยู่สองที่คือในไฟล์ Hosts กับเรคคอร์ดที่ตอบมาก่อนหน้าการค้นหาจากเครื่องแม่ข่ายDNS client จะตรวจสอบในลำดับของ DNS Server แล้วถ้าพบว่าทำงานใน Preferred DNS server ก็จะค้นหาจากที่นั่น ถ้าไม่ทำงานก็จะค้นหาต่อมาที่ DNS ลำดับถัดไป เครื่อง DNS Server จะตอบรับอัตโนมัติกับลูกข่ายที่เข้ามาร้องขอ และจะดูเรคคอร์ดที่ส่งมาตรวจสอบ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล DNS ถ้าไม่มีใน Zone ก็จะส่งต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ซึ่งเรียกกลไกนี้ว่า Recursion โดยจะไปสอบามกับ Root hints
เครื่องที่อยู่ที่ root และส่งต่อไปยัง Domain namespace tree อื่นๆ โดยค่า root hints นี้อยู่ที่ไฟล์ Windows\System32\dns เราสามารถแก้ไขให้กำหนดชื่อ Root hints กับเครื่องภายในได้ถ้า Recursion ถูกไม่อนุญาต ลูกข่ายจะติดต่อไปโดยตรงที่ root hint จาก DNS server แทน ซึ่งเรียกว่า Iteration และทำแบบนี้กับ DNS server ต่างๆตัวอย่างการค้นหา1. เมื่อมีการหาชื่อ FQDN จากแอพพลิเคชั่นบนเครื่องลูกข่าย และลูกข่ายกำหนดหาใน Preferred DNS server 2. ไม่มีอยู่ใน DNS Server ก็จะติดต่อไปยังเครื่องที่รับผิดชอบใน Root โดยไล่ที่ละลำดับจนเจอ DNS Server ที่รู้จักกับโดเมนที่ค้นหา3. เครื่องที่พบเรคคอร์ดจะส่งตรงไปยัง DNS server แรกและเครื่องที่เป็น Preferred DNS server ก็จะตอบกลับไปยังลูกข่ายชนิดของการตอบกลับจะมีหลักๆดังนี้- ตอบกลับเป็น Authoritative เป็นการตอบกลับเป็นบวก และส่งไปที่ลูกข่าย และส่งค่าบิต autority ที่กำหนดใน DNS message ซึ่งค่าที่ส่งไปนี้ถูกเก็บใน Server กับอำนาจตรงในการค้นหาชื่อ- ตอบกลับเป็นบวก ส่งตอบกลับค่าที่พบ- ตอบกลับสิ่งที่เกี่ยวข้อง บรรจุค่าอื่นๆเพิ่มนอกเหนือจากชื่อ หรือชนิดในการค้นหา เช่น www เป็นเพียง CNAME - ตอบกลับเป็นลบ ไม่พบชื่อที่ค้นหา โดยตอบจากไม่มีชื่อใน DNS หรือไม่มีเรคคอร์ดในชื่อที่ระบุเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของแคชทั้ง DNS Server และ Client มีแคชทั้งคู่แคชของ DNS Client จะเกิดขึ้นจากไฟล์ Hosts และชื่อที่เคยติดต่อก่อนหน้าแคชของ DNS Server ทำหน้าที่เป็นที่เก็บชั่วคราวของเรคคอร์ด ซึ่งจะเก็บข้อมูลเพื่อช่วยตอบให้กับลูกข่าย DNS Server cache เคลียร์เมื่อ DNS Server service ยุติ หรือเราจะเคลียร์ด้วยคำสั่ง Dnscmd /clearcacheค่า Time To live (TTL) เป็นค่าที่มีอยู่ในทุกเรคคอร์ดของทรัพยากร ซึ่งระบบ DNS resolver cache และ DNS server cache ใช้เป็นค่าที่จัดเก็บและพิจารณาการหมดอายุ เช่น TTL เป็น 3600 วินาที หรือหนึ่งชั่วโมงเราสามารถกำหนดแคชเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาชื่อในอินเตอร์เน็ต โดยยิ่งกำหนดมาเท่าไรยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น แต่การอัพเดตข้อมูลใหม่จะช้าลง

ความเข้าใจการแก้ปัญหาชื่อใน Windows Server 2003

เครือข่ายปัจจุบันมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกการแก้ปัญหาชื่อโฮสต์ กับ IP addresses ซึ่งในการแก้ปัญหาชื่อโฮสต์จะมีทั้ง NetBIOS และ DNS เปรียบเทียบระหว่าง DNS กับ NetBIOSในระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 มีการใช้ระบบชื่อ DNS มาใช้เป็นหลัก ส่วน NetBIOS เป็นระบบชื่อที่รองรับสำรอง เพื่อให้ติดต่อกับระบบปฏิบัติการเก่า ซึ่งใช้เทคนิค Universal Naming Convention (UNC) addresses เช่น \\Computer1\share1การเปรียบเทียบชื่อคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้ง Windows Server 2003 จะมีการกำหนดชื่อ และแก้ไขได้ใน System Properties ซึ่งชื่อนี้จะรองรับทั้ง DNS และ NetBIOS DNS namespace จะมีการกำหนดเป็นลำดับชั้น ชื่อเต็มเรียกว่า Fully qualified domain name (FQDN) ส่วนใน NetBIOS จะไม่มีลำดับชั้น ชื่อที่กำหนดต้องไม่ซ้ำกันสรุปชนิดชื่อต่างๆ และส่วนประกอบชื่อชนิดชื่อ คำอธิบาย
NetBIOS name เป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกัน และแก้ปัญหาชื่อกับ IP address สามารถที่ใช้การบรอดคลาส โดยชื่อที่กำหนดไม่เกิน 15 อักขระ และมี 16 คุณลักษณะ โดยดีฟอลท์จะกำหนด 15 อันดับแรก และบิตที่ 16 เป็นการบอกลักษณะ
Host name เป็นชื่อที่ใช้ในการระบุ FQDN
Primary DNS suffix ทุกเครื่องใน Windows Server 2003 network จะกำหนด Primary DNS suffix ซึ่งจะถูกระบุบนแท็บ Computer Name หรือที่เรียกว่า Primary domain name และ domain name
Connection-specific DNS suffix เป็นการกำหนดชื่อต่อท้าย ที่กำหนดขึ้นเองในการ์ดเครือข่าย หรือเรียกว่า adapter DNS suffix
FQDN เป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกันในเครือข่าย โดยใช้ Host name และ Primary DNS suffix แยกด้วยจุด
Full computer name เป็นชื่อเต็มของ FQDN ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ว่าจะแยกกันระหว่ง host name และ primary DNS suffix

การเปรียบเทียบของ NetBIOS และ DNS Names NetBIOS Computer name DNS Computer Name
ชนิด ราบ ลำดับชั้น
ข้อบังคับอักขระ รองรับ Unicode, เลข, ช่องว่าง สัญลักษณ์ ! @ # $ % ^ & ' ) ( . - _ { } ~ A-Z,a-z, 0-9,- , จุด
ความยาว 15 อักขระ 63 ไบต์ต่อเลเบล และ 255 ไบต์ต่อ FQDN
บริการชื่อ WINS
NetBIOS broadcast
ไฟล์ Lmhosts DNS
ไฟล์ Hosts



การเปรียบเทียบขั้นตอนการแก้ปัญหาชื่อDNS แก้ปัญหาชื่อโดย ดูจากไฟล์ hosts > ใช้ DNSNetBIOS แก้ปัญหาชื่อโดย ดูจาก NetBIOS name cache > WINS > Broadcasts > และไฟล์ Lmhostsไฟล์ Hosts กับ Lmhosts เก็บไว้ที่ Windows\System32\drivers\etc

เราจำเป็นที่ต้องใช้ DNS เมื่อใด- เมื่อใช้โดเมน Windows 2000 และ Windows Server 2003 เนื่องจากตำแหน่งของ Active directory ใช้ DNS เป็นกลไกในการแจ้ง- สำหรับเข้าใช้ Internet และ Intranet - สำหรับรองรับ NetBIOS บน TCP/IP เนื่องจาก DNS สามารถที่รองรับในระบบชื่อเก่าได้ ดังนั้นถ้าไม่มี DNS เราสามารถใช้ NetBIOS name resolution แทนได้

การไม่อนุญาต NeTBIOS เราสามารถที่กำหนดไม่ให้รองรับได้ โดยการเข้าไปกำหนดใน Internet Protocol (TCP/IP) properties > ปุ่ม Advanced > แท็บ WINS > เลือก Disable NetBIOS over TCP/IP ซึ่งเมื่อกำหนดแล้วเราจะใช้ My Network Place > Entire Networks > Microsoft Network เข้าไปดูชื่อเครื่องไม่ได้แต่เราป้องกันการโจมตีต่างๆที่ผ่านพอร์ต NetBIOS ได้

การแก้ปัญหาการเชื่อมต่อ TCP/IP

พื้นฐานการแก้ปัญหาเราจะต้องดูตำแหน่งของปัญหา และเริ่มต้นตรวจสอบลำดับชั้นจากล่างขึ้นบนถ้ามีปัญหาในความผิดพลาดของเครื่องที่ระบุ ต้องตรวจสอบการกำหนดค่าหมายเลข IP Address, Subnet mask, Default Gateway และการกำหนดค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยเราจะใช้เครื่องมือต่างๆดังนี้- IPconfig เป็นเครื่องมือที่ตรวจสอบหมายเลข และค่ากำหนดต่างๆเราดูรายละเอียดได้โดยใช้ Ipconfig /all ซึ่งถ้าเป็น 0.0.0.0 แสดงว่ามีปัญหา- การใช้ Network diagnostics เป็นเครื่องมือที่มีอยู่ใน Help and Support Center โดยเราคลิกไปที่ Scan Your System > Network diagnostics รองระบบทำการรวบรวมข้อมูล ค่าที่รวบรวมโดยทั่วไปจะมี- Internet Services ซึ่งมี IE, Outlook Express, Web proxy- Computer Information ซึ่งจะป็น Registry ระบบปฏิบัติการ และเวอร์ชั่น - Modem and Network adapters ซึ่งจะมีค่า Registry ที่เกี่ยวกับโมเด็ม การ์ดเครือข่าย และลูกข่ายเราสามารถที่กำหนดรายการเลือกเพิ่ม หรือควบคุมการตรวจสอบได้โดยการเช็กบ็อกซ์ออปชั่นและ Network Diagnostic สามารถจัดเก็บเป็นไฟล์ เพื่อให้ผู้อื่นช่วยในการวิเคราะห์ได้

Netdiag
เป็นคำสั่งที่อยู่ใน Command-line โดยหาได้จากซีดีรอม Windows Server 2003 ในตำแหน่ง \Support\tools เครื่องมือนี้จะใช้ตรวจสอบสิ่งต่างๆดังนี้ชื่อที่ทดสอบ รายละเอียด
NetCard Queries Test ตรวจสอบรายการของการกำหนดค่าการ์ดเครือข่าย เช่นที่อยู่ IP, Default gateway
Domain membership Test ตรวจสอบรายละเอียด Primary Domain รวมถึงบทบาทเครื่อง และ Domain GUID ซึ่งตรวจสอบ Netlogon เปิดหรือไม่ และเพิ่ม Primary domain ในรายการ Primary domain security identifier (SID)
NetBT Name Test ตรวจสอบ Workstation service name <00> หรือเครื่องลูกข่าย และตรวจสอบ Messenger service name<03> และ server service name<20> การใช้เหมือนกับ nbtstat -n
WINS Service Test ส่ง NetBT ในการค้นหากับ WINS server
DNS Test ตรวจสอบกับ DNS ได้ด้วยโดยจะตรวจสอบในรายการของ DNS ที่อยู่ใน Netlogon.dns ที่ลงทะเบียน และสามารถที่แก้ปัญหาได้โดยใช้ /fix
Bindings Test ดูรายการที่ผูกทั้งหมด รวมถึงกับชื่อขาที่ติดตั้งทั้งชื่อในรายการล่าง และบน ที่ปัจจุบันผูกใช้อยู่
WAN configuration test ตรวจสอบค่าสถานะของ Remote access connections ที่ทำงานอยู่
IP Security test ตรวจสอบค่า IP security ที่อนุญาต และแสดงว่าทำงานอยู่

เครื่องมืออื่นๆที่ใช้แก้ปัญหามีPing กับ Pathping เป็นการตวจสอบที่อยู่ IP ด้วยการทำงานในระดับชั้น ICMP การใช้งาน Ping มีขั้นตอนดังนี้- Ping local loopback
- Ping หมายเลขที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน- Ping ค่า Default gateway- Ping ที่อยู่ที่อื่นซึ่งถ้า Ping ไม่ได้ให้ตรวจสอบค่าดังนี้ - ค่าที่กำหนดในเครื่องประกอบด้วย IP address, Subnet mask และ Default gateway ถ้า Ping ด้วยชื่อก็ให้ตรวจสอบ DNS ด้วย- ตรวจสอบเครื่องปลายทางว่าเปิดอยู่หรือไม่การแก้ปัญหาด้วย Tracertเป็นคำสั่งที่ใช้ ICMP และส่งตอบกลับมาในแต่ละขั้นที่ผ่าน Gatewayการแก้ปัญหาด้วย ARP เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบการติดต่อ Arp cache ที่เครื่องสร้างตารางของ IP address กับ MAC addressการใช้ Telnetเพื่อตรวจสอบพอร์ตที่ทำงาน ดูว่ามีบริการทำงานอยู่หรือไม่

การวิเคราะห์การจราจรโดยใช้ Network Monitor

เครื่องมือหนึ่งที่เราใช้วิเคราะห์เครือข่าย TCP/IP และ Protocol อื่นๆได้คือ Network Monitor ซึ่งเราิติดตั้งเพิ่มได้จาก Add or Remove ProgramsNetwork Monitor คืออะไรคือซอฟต์แวร์ที่ใช้วิเคราะห์เครือข่าย มีหน้าที่สรุปได้ดังนี้- จับเฟรมจากเครือข่ายโดยตรง- แสดง และกรองเฟรมที่จับมาได้ หลังจากที่จับ หรือเวลาต่อมา- แก้ไขเฟรมที่จับ และส่งไปยังเครือข่าย (สำหรับเวอร์ชั่นเต็ม)- จับเฟรมจากเครื่องอื่นๆ (สำหรับเวอร์ชั่นเต็ม)Network Monitor มีสองเวอร์ชั่น ซึ่งดูรายละเอียดในตารางหน้าที่ Basic Full
จับเฟรม ที่ติดต่อเข้ามาในเครื่องนั้นๆ ทุกอุปกรณ์ในเครือข่าย
จับเฟรมทางไกล ไม่ได้ ได้
พิจารณาแบนด์วิดช์ที่ใช้สูงสุด ไม่ได้ ได้
พิจารณาการใช้แบนด์วิดช์ ไม่ได้ ได้
พิจารณาอุปกรณ์ router ไม่ได้ ได้
แก้ปัญหาชื่ออุปกรณ์กับ MAC address ไม่ได้ ได้
แก้ไข และส่งการจราจรใหม่ ไม่ได้ ได้

การเปิดส่วนประกอบของ Network Monitorเครื่องมือนี้อยู่ใน Administrative Tools เราสามารถที่ติดตั้งผ่าน Add/Remove Windows Components > Management and Monitoring Toolsโดยปกติเมื่อติดตั้ง Network Monitor จะติดตั้ง Network Monitor drivers ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งรองรับใน Windows Server 2003/XP Professional/Windows 2000เราต้องล็อกออนด้วยสิทธิ Administrators จึงจะสามารถติดตั้งส่วนประกอบต่างๆเหล่านี้ได้

Network Monitor ทำงานอย่างไรโปรแกรมนี้จะตามเครือข่ายที่ส่งเป็นข้อมูลต่อเนื่อง และนำข้อมูลต่างๆเหล่านี้แบ่งเป็นเฟรม ซึ่งจะได้- Source address ที่ส่ง- Destination address ที่รับ- ข้อมูลของ Header ตามแต่ละข้อตกลง- ข้อมูลที่ส่งไปยังเครื่องปลายทางโดยการเก็บข้อมูลลงบัฟเฟอร์นี้เรียก Data captureจำนวนข้อมูลที่ส่งสามารถที่นำมากรอง เหมือนกับการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล

เริ่มต้นของจากตรวจจับข้อมูลจะต้องพิจารณาขาที่ต้องการตรวจสอบ โดยค่าที่แสดงจะเป็น Network Interface ซึ่งภายในจะมี MAC address หลังจากนั้นถ้าต้องการจับข้อมูลให้คลิก Start Capture ก็จะมีการแสดงหน้าจอสรุปให้อยู่สี่แถบคือ- Graph
- Session Statistics
- Station statistics
- Total statistics
เมื่อจับข้อมูลได้แล้วเราสามารถที่จะเรียกคำสั่ง- Pause
- Stop capture
- Stop and View capture
- display captured data
ซึ่งถ้าเราเรียก View เราสามารถที่วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยแบ่งแถบเป็น 3 แถบคือ- Summary pane เป็นแถบที่แสดงข้อมูลสรุปมี Frame, Time, Source MAC address, Destination MAC address, Protocol, Description, Source other address, Destination other address- Details pane เป็นการแสดงข้อมูลแบ่งเป็นลำดับชั้น ตัวเลขค่าที่แสดงเป็นเลขฐานสิบหก- Hexadecimal pane เป็นข้อมูลที่แสดงเป็นเลขฐานสิบหก ใช้สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมดูข้อมูลในโปรโตคอลเครือข่าย

การดูข้อมูลในเฟรมสิ่งหนึ่งที่ผู้วิเคราะห์เครือข่ายต้องมีความรู้อย่างดีคือเรื่องของ OSI Model และ TCP/IP stackเรานิยมเข้าไปดูใน Details pane ซึ่งแบ่งเป็นลำดับชั้นตามมาตรฐานของ OSI model ถ้าเราต้องการดูในระดับ Transport จะดูที่ UDP หรือ TCP เป็นต้นเราต้องการที่เพิ่มรายการใน Network Monitor สามารถที่จะทำได้โดยไปที่ Windows\System32\Netmon\Parsers ซึ่งจะมี .dll อยู่ และใส่ Parser และ Protocol ใหม่ใน Parser.ini ซึ่งเก็บใน Windows\System32\Netmon โดยปกติจะมีกว่า 20 รายการ

การติดตั้ง และกำหนดค่าติดตั้ง TCP/IP

โดยดีฟอลท์ TCP/IP จะถูกติดตั้งให้อัตโนมัติอยู่แล้ว เราสามารถเลือกกำหนดตอนติดตั้งระบบปฏิบัติการได้ วิธีการตรวจสอบสามารถที่เข้าไปดูใน Network connections และเลือกการ์ดที่เหมาะสม และเข้าไปกำหนด Internet Protocol (TCP/IP) ซึ่งถ้าเราเลือกเป็น Obtain an IP address automatically ก็จะได้รับหมายเลขจาก DHCP หรือ APIPA หรือค่าที่กำหนด alternate configurationหรือถ้ากำหนดด้วยมือต้องมีความเข้าใจใน IP Address, Subnet Mask, และ Default Gateway

การแบ่ง Subnetting และ Supernetting

ในการรับหมายเลข IP Address จาก IANA หรือ ISP ผู้ได้รับหมายเลขสามารถที่แบ่งเครือข่ายย่อยลงไปอีกได้ ขนาดเครือข่ายที่ไม่สามารถรองรับได้ตามกายภาพจริงตัวอย่างเช่นได้คลาส A มี Host ID ถึง 16 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ต่อกายภายในเครื่องจำนวนดังกล่าว ผู้บริหารเครือข่ายต้องแบ่งเครือข่ายย่อยๆออกมาเรียกว่า Subnetting สิ่งที่ใช้แบ่งคือ Subnet Maskการสไลด์บิตถ้าย้ายไปด้านขวาเรียกว่า Subnetting ถ้าย้ายไปด้านซ้ายเรียกว่า Supernetting

บอกถึงการแบ่ง Network ID คือหมายเลขที่ได้รับ Class จริง, Subnet คือการสไลด์บิตที่ได้แบ่งเป็นเครือข่ายย่อย, Host ID คือหมายเลขเครื่องที่ถูกเพิ่ม หรือลดจากการแบ่ง Subnet การแปลง Subnet Mask ไปเป็นดอตเลขฐานสิบโดยทั่วไปถ้าใช้ครบออกเตตก็จะแปลงได้ดังนี้ 11111111 11111111 11111111 00000000 -> 255.255.255.0 ในกรณีที่แบ่งไม่ครบออกเตตจะแปลงได้ดังนี้ 11111111 11111111 11110000 00000000 -> 255.255.240.0การทำงานกับ Subnetในการกำหนด Subnet Ids จะพิจารณาแยกตัวอย่างเช่น 129.100.0.0 แบ่งเป็น 4 Subnets
โดยทั่วไปจะเป็น 129.100.0.0 เป็นคลาส B Subnet Mask เป็น 255.255.0.0 ถ้าแบ่งครบ Octets จะได้เป็น 255.255.255.0 มี 256 Network ID และ แต่ละ Network ID คือ 254 Host Ids ดังนั้นถ้าต้องการแบ่งเป็น 4 Network ID จะต้องใช้เป็น 11111111 1111111 11111111 11100000 หรือคือ 255.255.255.224 โดยมี Network ID การแบ่ง Subnet Mask ในคลาส C ตัวอย่างคือ 212.114.32.0 มีการแบ่ง Subnet ID 0.0.0.96 ซึ่งมี HostID 0.0.0.17 ดังนั้น IP Address คือ 212.114.32.113ีการแบ่ง Subnet สามาถแบ่งได้ตั้งแต่คลาส A, B, และ CVariable Length Subnet Mask (VLSM)ใช้กรณีที่แบ่ง Subnet Mask ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเท่ากันทุก Network นิยมแบ่งใน ISP ตัวอย่างเช่นได้คลาส 203.149.1.0/24 (24 บิต)แบ่งเครือข่ายแรก203.149.1.0/28 (255.255.255.240) โฮสต์ที่เป็นได้ 203.149.1.1- 14 0 เป็น Network, 15 เป็น Broadcast 203.149.1.16/30 (255.255.255.248) โฮสต์ที่เป็นได้ 203.149.1.17-22 16 เป็น Network, 23 เป็น Broadcast203.149.1.24/33 (255.255.255.252) โฮสต์ที่เป็นได้ 203.149.1.25-26 24 เป็น Network, 27 เป็น Broadcast203.149.1.28/33 (255.255.255.252) โฮสต์ที่เป็นได้ 203.149.1.29-30 28 เป็น Network, 31 เป็น BroadcastClassless Internet Domain Routing (CIDR)ในการรวมคลาสต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อติดต่อใน Network ทั้งหมด เช่น ISP ติดต่อกับหลาย Network Class C ขององค์กรลูกค้า จะใช้การรวม Network ID ด้วยกัน เรียกว่า CIDR หรือเรียกว่า Supernetting ตัวอย่างเช่น 204.21.128.0 เป็นค่า Network ที่กำหนด ISP มี Subnet Mask เป็น 255.255.128.0 หรือเขียนเป็น 204.21.128.0/17

เข้าใจเกี่ยวกับ IP Address

2.2 เข้าใจเกี่ยวกับ IP Address

ใน TCP/IP จะมีกลไกในการแม็บกับค่า MAC Address ที่ติดต่อเรียกขั้นตอนนี้ว่า Address Resolution Protocol (ARP) ซึ่งจะมีการสร้างตาราง ARP ที่แม็บ Logical Address (IP Address) กับ Mac address ขั้นตอนในการติดต่อ1. ถ้าตำแหน่งที่ติดต่ออยู่ใน Network segment เดียวกันระบบสามารถที่จะส่งจาก Source และ Destination ได้โดยตรง2. แต่ถ้า Destination อยู่ต่างที่กันระบบจะทำงานดังนี้a. ข้อมูลส่งไปที่ gateway โดยใช้ ARP ตาราง ARP Cached จะบันทึก MAC address กับ IP Address ของ Routerb. ในข้อมูลจะส่งผ่านโดยดูใช้ชั้นที่สูงขึ้นคือ Internet แสดงส่งข้อมูลโดยพิจารณาจาก Routing Tablec. เมื่อผ่าน Router ไปถึงเป้าหมายก็จะส่งในขา Router นั้นไปที่เป้าหมายที่ต้องการในการส่งข้อมูลนี้จะต้อง- ระบุเครื่องบนเครือข่าย- ต้องมีการกำหนด Gateway ที่ Router- อุปกรณ์ที่ใช้ต่างกันจะต้องมี Router ในการส่งข้าม เช่น Token Ring กับ Ethernet หรือ LAN กับ WAN- มีการแปลง Logical IP Address ของ Destination network ไปเป็น Physical address ของเครื่องที่ติดต่อการส่งข้อมูลระบบสามารถใช้ IP กับ ARP ในชั้น Internet และสามารถที่ใช้ ICMP protocol ในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาInternet ProtocolIP Protocol เป็นอิสระกับฮาร์ดแวร์ที่มีความสลับซับซ้อน สามารถที่ Route ข้ามเครือข่ายหมายเลขจะต้องมีหมายเลขเดียวในเครือข่ายเลขที่ใช้คือเลขฐาน 10 สี่ตัว มีการแยก Network ID กับ Host ID ฟิลด์ IP Header (มาตรฐาน RFC 791)- Version ระบุว่าเป็นเวอร์ชั่น 4 หรือ 6 เช่น 0100 เป็นเวอร์ชั่น 4- Internet Header Length (IHL) ใช้ 4 บิตในการบอกความยาวของ IP header - Type of Service โดยทั่วไปเป็น Normal- Total Length
- Identification ใช้ร่วมกับ Flags และ Fragment Offset ถ้ามีการแตกข้อมูลหมายเลข ID ต้องตรงกัน- Flags เป็นการระบุว่าข้อมูลนี้มีอีกหรือไม่ - Fragment Offset เป็นการระบุตำแหน่งใช้ในการรวมข้อมูล- Time to Live เป็นค่าที่ใช้ลดปัญหาแพ็ตเกจข้อมูลขยะ- Protocol ถ้าเป็น ICMP หมายเลขคือ 1, TCP คือ 6, UDP คือ 17- Header Checksum ใช้ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูล- Source IP Address
- Destination IP Address
- IP Options
- Padding
- IP Data payload
IP Addressingมีการแบ่งดังนี้Address Class หมายเลขของออกเตตแรก บิตที่จอง (จากบิตแรก) Subnet Mask จำนวน Networks จำนวน Hosts
A 0-126 0 255.0.0.0 126 256*256*256 - 2
B 128-191 10 255.255.0.0 256*64 256*256-2
C 192-223 110 255.255.255.0 32*256*256 254
D 224-239 1110 255.255.255.240 จองสำหรับ Multicast
E 240-248 11110 255.255.255.248 จองไว้ไม่ได้ใช้

หมายเหตุ *127 ไม่ใช้เพราะเป็น Local Loopbackหมายเลข IP แบ่งเป็น Public IP Address กับ Private IP Addressโดยทั่วไปเป็น IP สาธารณะ องค์กรที่กำหนดหมายเลขหรือให้กลุ่มหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน IANA (Internet Assigned Numbers Authority)แบ่งออกเป็น 4 ย่านคือ- APNIC
- ARIN
- LACNIC
- RIPE
และ IP Address ที่อยู่ช่วงนี้10.0.0.0-10.255.255.255, 172.16.0.0-172.31.255.255, 192.168.0.0- 192.168.255.255, 169.254.0.0- 169.254.255.255
เป็น IP ส่วนตัวคลาส D และ Eในการสื่อสาร TCP/IP เป็นการติดต่อจาก Host-to-Host ถ้าเป็นคลาส D จะเป็นการติดต่อแบบ Multicast ดูตารางด้านบนควบคู่กัน หมายเลข IP พิเศษในบิต 255 จะเป็นการบรอดคลาสเช่น Network ID 129.152 มีการบรอดคลาสโดยใช้ 129.152.255.255ถ้าเป็น 255.255.255.255 เป็นการบรอดคลาสทั้ง Network และ 127, 10, 172, 192.168, 169.254 ดูด้านบนเป็น Private IP127.x.x.x เป็น Local Loopback255.255.255.255 เป็นบรอดคลาส10.x.x.x เป็น Private Class A172.16.x.x-172.31.x.x เป็น Private Class B192.168.x.x เป็น Private Class C
169.254.x.x ใช้เป็น AutoPrivate IP Address 0.0.0.0 บอกถึง Network ทั้งหมด

วิธีตรวจสอบ IP Addressเราสามารถกำหนด IP Address ได้แบบต่างๆดังนี้- กำหนดด้วยมือ- กำหนดด้วย DhCP- ใช้แบบ Automatic Private IP Addressing - การกำหนดค่า Alternate configuration เอง คือไม่มี DHCP Server แต่ผู้ดูแลกำหนดเองให้เป็น IP Address ที่ต้องการ

ความเข้าใจเกี่ยวกับ IP addressผู้เรียนพบว่าหมายเลข IP Address แบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 8 บิต ถูกแปลงจากเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบดังนั้นผู้กำหนด IP Address ต้องมีความเข้าใจในการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบ และจากฐานสิบไปเป็นฐานสอง โดยอาจจะใช้เครื่องคิดเลขเข้้าช่วยได้ค่าหมายเลขที่กำหนดแบ่งเป็นสองชุดหลักๆคือ Network ID และ Host ID โดยค่า Subnet mask เป็นตัวแบ่งเครือข่าย เช่น 192.168.2.11 Subnet mask เป็น 255.255.255.0 Network ID คือ 192.168.2.0 ์Host ID คือ 11บางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนบิตแทนดังนี้ 192.168.2.11/24 มีความหมายเดียวกันโดยทั่วไปถ้าเป็น Class A, B, C จะมีค่า Subnet Mask ดีฟอลท์อยู่แล้วจากตารางด้านบน แต่ถ้ากำหนดแตกต่างก็มีสิทธิเป็นไปได้เรียกว่าการแบ่ง Subnetting หรือ Supernettingเมื่อพบว่าเครื่องที่ติดต่ออยู่ต่างเครือข่ายกันจะต้องมีการกำหนด default gateway เพื่อเป็นทางออกในการส่งต่อไปยังเครื่องที่อยู่ภายนอก

เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP

หน้าแรก | สารบัญ | ภาพรวม | แสดงไอค่อน
Network Infrastructure (70-291)
ขอข้อมูลเพิ่มติดต่อ information@itcompanion.co.th
หน้าแรก

1. เข้าใจเกี่ยวกับเครือข่าย Wi...

2. เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP

2.1 เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP
2.2 เข้าใจเกี่ยวกับ IP Address
2.3 การแบ่ง Subnetting และ Sup...
2.4 การติดตั้ง และกำหนดค่าติดต...
2.5 ปฏิบัติการกำหนดค่าติดตั้ง ...

3. เฝ้าดู และการแก้ปัญหาการเชื...

4. กำหนดค่า DNS Server และ Cli...

5. การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ...

6. เฝ้าดู และการแก้ปัญหา DNS

7. กำหนดค่า DHCP Servers และ C...
8. เฝ้าดู และการแก้ปัญหา DHCP
9. การหาเส้นทางใน Windows Serv...

10. การกำหนดค่า และการจัดการ R...
11. การจัดการ Network Security
12. การบำรุงรักษาโครงสร้างพื้น...
หน้าแรก > 2. เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP > 2.1 เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP ก่อนหน้า ต่อไป

2.1 เข้าใจเกี่ยวกับ TCP/IP

TCP/Ip เป็นโปรโตคอลพื้นฐานที่ใช้งานบน Windows networks และ Internet โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ลำดับชั้นคือApplication
Transport
Internet
Network Interface

ส่วนประกอบที่ทำงานใน TCP/IP คือชั้น Transport และ Internetการติดต่อ TCP/IP ในการวิ่งข้ามเครือข่ายระบบจะใช้การสร้างแพ็คเกจใหม่เมื่อมีการติดต่อ (ไม่ต้องสนใจอุปกรณ์ สนใจแต่ข้อมูล) การทำงานของ TCP/IP เป็นลำดับชั้นดูในตารางด้านล่างแบ่งการทำงานออกเป็นลำดับชั้น 4 ชั้นดังนี้Application รองรับการทำงาน การแก้ปัญหา เช่น File Transfer, Remote Control, Internet activities
Transport เป็นผู้รับผิดชอบ Flow Control, Error Control, Acknowledgement
Internet รองรับหมายเลขที่กำหนดเอง (Logical Address) เป้าหมายคือการติดต่อให้ถึงกับเครื่องที่ต้องการ ซึ่งจะมี Logical Address ที่จะแม็บกับ Physical Address
Network Access รองรับการต่อเชื่อมกับอุปกรณ์กายภาพ มีการกำหนดรูปแบบของข้อมูล และ Physical Address, รองรับ Error control ที่ส่งในเครือข่าย Physical

ในการติดต่อระดับ Application เมื่อมีการส่งข้อมูลลงมาจะมีการปะ Header ในแต่ละลำดับชั้น ผู้รับเมื่อได้รับข้อมูลก็จะทำการตรวจ Header และนำ Header ออกในแต่ละลำดับชั้นเพื่อดึงข้อมูลที่ติดต่อจริงๆTCP/IP กับ OSI Modelมาตรฐานการสื่อสารแบ่งเป็น 7 ชั้นซึ่งเรียกว่า Open System Interconnection (OSI) Model ในมาตรฐาน TCP/IP ก็ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับ OSI ซึ่งมีรูปเปรียบเทียบดังนี้TCP/IP Stack OSI Model
Application Application
Presentation
Session
Transport Transport
Internet Network
Network Access Data Link
Physical

- Physical เป็นการส่งข้อมูลในระดับสัญญาณไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ใช้- Data Link เป็นชั้นเชื่อมต่อข้อมูลกับการส่งข้อมูลทางไฟฟ้า ซึ่งจะมีการกำหนด Logical Link หรือที่เราใช้คำว่า Frame เช่นแปลงเลขฐาน 2 ให้เป็น Start frame หรือ End of frame- Network รองรับ Logical Addressing และการ Routing- Transport ควบคุมข้อมูลทั้ง Error, และ Flow - Session บอกถึงเทคนิคการติดต่อ เช่น Simplex, Half Duplex, Full Duplex- Presentation แปลงข้อมูลในมาตรฐาน (ข้อมูลดิบ) เช่น การเข้ารหัส, ASCII, Unicode, Data Compression- Application คือแอพพลิเคชั่นที่เรียกใช้ที่สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานมีทั้งที่เป็น Command line, GUIแพ็คเกจข้อมูลในการส่ง Package ข้อมูลในชั้นบนจะถูกมองเป็นดาต้าในชั้นถัดไป เช่น ดังรูปด้านล่างสีเทาคือ Header ที่ปะในแต่ละชั้น Application

Transport

Internet

Network Access

-> 1010111100010…

ขั้นตอน◦แพ็คเกจข้อมูลที่สร้างจาก Application เรียกว่า Messages ◦มาในชั้น Transport จะถูกเข้าข้อมูลไว้เป็น Segment ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดเล็กเรียกว่า User Datagram Protocol (UDP) ◦ข้อมูลในชั้น Internet จะบรรจุข้อมูลของ Datagram ในชั้น Transport และมีการส่งข้อมูลเรียกว่า Datagram หรือ Package ◦ข้อมูลที่ชั้น Network Access จะบรรจุ และทำการแปลงข้อมูลข้อมูลเรียกว่าเฟรม (Frame) ถ้าใช้เครือข่าย ATM ข้อมูลจะเรียกว่า (Cell)

การต่อเชื่อมเครือข่าย TCP/IP ดูอย่างเร็วๆสมมติว่าคุณใช้ FTP ในโอนถ่ายไฟล์ระบบจะตรวจสอบว่าเป็น TCP หรือ UDP ในที่นี้คือ TCP -> ส่งไปที่ Internet จะทำการปะตำแหน่งที่ติดต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางที่เรียกว่า Logical Address -> ระบบติดต่อผ่านอุปกรณ์ต่างๆจะใช้การประกบกันของ Logical Address กับ Physical Address (ARP, RARP)ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ เราจะใส่เฟรมไม่เหมือนกัน

โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานเพิ่มเติม

1.3 โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานเพิ่มเติม

เราสามารถที่ติดตั้งบริการ โปรโตคอล หรือลูกข่ายต่างๆใน Windows server 2003 เพิ่มได้ ซึ่งบางอย่างเป็นส่วนประกอบ บางอย่างเป็น Roles หรือบทบาทในเครื่องแม่ข่าย เช่น DNS, WINS, DHCP เป็นต้นการเพิ่มส่วนประกอบโดยดีฟอลท์ Windows Server 2003 จะมีหมายเลข IP และเป็น Workgroup มี NetBIOS ทำงานบน TCP/IP โดยบรอดคลาสให้เครื่องต่างๆติดต่อเข้ามาทั้งใช้แชร์ ความปลอดภัย การขอดูเครื่อง และการพิมพ์ ส่วนประกอบที่มีคือ Client for Microsoft Network กับ File and Printer Sharing for Microsoft Netw, TCP/IPเราสามารถที่ผูกกับ Clients, Services, Protocols อื่นๆได้โดยการคลิกปุ่ม Installการติดตั้ง Client Service for Netware ต้องมีการติดตั้ง NWLink (IPX) Protocol ก่อนเมื่อติดตั้งต้องมีการกำหนด Frame Types และ Network node ถ้าเลือก Autodetect จะได้เพียงหนึ่งเพิ่ม ถ้าต้องการมากกว่าหนึ่งให้กำหนด้วย Manual

ส่วนประกอบเครือข่ายอื่นๆเราสามารถติดตั้งได้โดยปที่ Add or Remove Programs ใน Control Panel > Add/Remove Windows Components > เลือกส่วนประกอบที่ต้องการซึ่งมี Management and Monitoring Tools, Network Services, Orther Network File and Print Services, และ Certificate Servicesภายในแต่ละส่วนประกอบหลักจะประกอบด้วยManagement and Monitoring Tools มี- Connection manager administration kit
- Connection Point Services
- Network Monitor tools
- Simple Network Management Protocol
- WMI SNMP Provider
ส่วนประกอบ Networking Services มี- Domain Name System (DNS)
- Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
- Internet authentication services
- RPC over HTTP Proxy
- Simple TCP/IP Services
- Windows Internet Name Service (WINS)
ส่วนประกอบ Other Network File and Print Services มี- File Servcies for Macintosh
- Print Services for Macintosh
- Print Services for UNIX
ส่วนประกอบ Certificate Servcies มี- Certificate Services CA
- Certificate Services Web Enrollment Support


ถ้าเราประกาศเครื่องเป็น Active Directory จะมีส่วนประกอบที่ติดตั้งคือ DNS ถ้าไม่มี DNS ก็จะติดตั้ง DNS Server ให้และมี Global Catalog ด้วย

เครือข่ายกับส่วนประกอบดีฟอลท์ใน Windows Server 2003

1.2 เครือข่ายกับส่วนประกอบดีฟอลท์ใน Windows Server 2003

การดู Network Connectionsเราสามารถที่ให้ระบบปฏิบัติการตรวจสอบส่วนประกอบเครือข่ายได้ด้วย เครื่องมือ Network connections ที่อยู่ใน Control Panelโดยดีฟอลท์ค่าที่กำหนดการเชื่อมต่อจะไม่อนุญาตเครือข่ายทำการสื่อสาร และมีการติดตั้งส่วนประกอบ Network clients, Services, และ Protocol ที่เกี่ยวข้อง เช่น Network Load Balancing จะติดตั้งแต่ไม่ได้เช็กบ็อกซ์ให้ทำงาน หรือ QoS Packet Scheduler ไม่ได้ติดตั้ง และ Client Service for Netware การดูค่ากำหนดในขั้นสูงเราสามารถที่ไปที่ใน Network Connections และไปเลือกเมนู Advanced กำหนดค่า Advanced Settingsในที่นี้เราสามารถที่กำหนด- การผูก ระหว่าง Protocol กับ Services ทั้ง Client และ Server- การกำหนดลำดับ การทำงานเช่น Network Provider หรือ Printer Providerค่ากำหนดดีฟอลท์สำหรับ TCP/IPเราเข้าไปดูค่าคุณสมบัิติของ TCP/IP โดยไปที่ Internet Protocol (TCP/IP) Properties ซึ่งค่าที่กำหนดจะเป็น Obtain an IP address ซึ่งการได้หมายเลข IP จะได้จาก DHCP Server ถ้าไม่มีก็จะกำหนดหมายเลข Automatic Private IP Addressing (APIPA)APIPA
เป็นฟีเจอร์ที่กำหนดเพื่อให้เครื่องในเครือข่ายเดียวกันได้หมายเลข IP ติดต่อถึงกันโดยไม่จำเป็นต้องมี DHCP Server ค่าที่ได้คืือ 169.254.0.1-169.254.25.254ตรวจสอบได้ด้วยคำสั่ง IPconfig /all ใน Command Prompt ค่า APIPA นี้เป็นค่าที่ตกลงกันในเครือข่าย Internet โดย IANA ซึ่งเมื่อได้รับหมายเลขแล้วค่า Defautl Gateway, DNS, WINS จะไม่กำหนดให้ด้วยการไม่อนุญาตให้ใช้ APIPA เราสามารถไปที่แท็บ Alterante Configuration เพื่อกำหนดแก้ไขได้ ถ้าต้องการไม่อนุญาตให้ไปที่ RegistryIPAutoconfigurationEnabled กำหนดเป็น 0 ในชนิดข้อมูล DWORD ตำแหน่ง HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Services\Tcpip\Parameters\Interfaces\interface และรีสตาร์ทเครื่องถ้ากำหนด Disable หลายการ์ดให้ไปแค่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Services\Tcpip\Parametersการแก้ปัญหา APIPA - เครื่องที่รองรับความสามารถนี้คือระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป- ตรวจสอบโดยคำสั่ง IPconfig /all- ต้องการค่าหมายเลขใช้ IPconfig /renew เป็นการส่งคำร้องขอเพื่อต่ออาุยุ หรือขอหมายเลข IP จาก DHCP ถ้าไม่มี DHCP Server ก็จะได้หมายเลขในช่วง APIPA- ถ้าไม่ได้แม้กระทั่งใช้ Ipconfig /renew ให้ใช้ ipconfig /release และ /renew ใหม่ถ้ายังไม่ได้ให้ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ที่กำหนด- เราสามารถกำหนดหมายเลข IP ได้โดยไม่จำเป็นที่ใช้ APIPA ด้วยแท็บ Alternate Configuration

ค่าดีฟอลท์เครือข่าย และ Workgroupโดยปกติ Windows Server 2003 จะกำหนดชื่อ Workgroup ว่า "Workgroup" เพื่อใช้งานใน NetBIOS ถ้าทำงานบน TCP/IP เรียกว่า NetBT (NetBIOS over TCP/IP) ซึ่งหลักการที่กำหนดเป็น Workgroup นี้ไม่มีเครื่องที่เป็นส่วนกลาง ทุกเครื่อสามารถที่ติดต่อถึงกันและกันได้ โดยรองรับ CIFS protocol ทำงานบน DNSโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Windows Server 2003 และการ RoutingWindows Server 2003 เมื่อติดตั้งจะยังไม่สามารถที่ Routing ได้ต้องติดตั้ง Routing and Remote Access Service และทำการ Enable เพื่อใช้งานเครื่องที่ติดตั้งหลาย Network Card เรียกว่า Multihomed
1.2.1 สาธิตการดู Network Connections

ดูหัวข้อ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
D01_01_Networkconnection.avi
1.2.2 สาธิต APIPA

ดูหัวข้อ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
D01_02_APIPA.avi
1.2.3 สาธิต IPconfig

ดูหัวข้อ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
D01_03_Ipconfig.avi

เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน

1.1 เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจจะมีส่วนประกอบหลากหลายเทคโนโลยี่ หลากหลายระบบ ซึ่งผู้บริหารระบบต้องมีความเข้าใจอย่างชำนิชำนานเพื่อที่บำรุงรักษา สนับสนุน และแก้ปัญหาในการทำงานต่างๆของเครือข่าย

การกำหนดโครงสร้างเครือข่ายเราต้องคำนึงถึงโครงสร้างสองแบบด้วยกันคือ Physical (กายภาพ) กับ Logical (ตามสมควร)โครงสร้างด้านกายภาพสิ่งที่ออกแบบเป็น Topology (โทโปโลยี่) ซึ่งจะคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ เช่นสาย อุปกรณ์เครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย หรือลูกข่ายเป็นต้นโครงสร้างตามเหตุผล เป็นโครงสร้างออกแบบให้เป็นไปตามกายภาพ ซึ่งเน้นการสื่อสารระหว่างเครื่อง หรืออุปกรณ์ เช่น DNS, TCP/IP, Client Services ต่างๆ ในการติดต่ออาจจะมีเครือข่ายขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และมีระบบอื่นๆเข้ามาสนับสนุนเช่นการติดต่อทางโทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ต

การวิเคราะห์เครือข่าย Windows Server 2003สิ่งที่ต้องพิจารณามีการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือ Network Connectionsซึ่งจะมี Protocol (ซอฟต์แวร์) และ Network adapter (ฮาร์ดแวร์) หรือโมเด็ม โดยทั่วไปเมื่อติดตั้งแล้วก็จะมีส่วนประกอบอื่นๆติดตั้งตามมาด้วยเช่น Client software, Services และค่าที่กำหนดเป็น Normalโปรโตคอลเครือข่าย หรือ Network Protocolsเสมือนภาษาที่ใช้ให้เครื่องคอมพิวเตอร์พูดคุยติดต่อกัน โดยค่าที่กำหนดให้คือ TCP/IP (เวอร์ชั่น 4) ซึ่งจะใช้ติดต่อได้หลายระบบปฏิบัติการ แต่ถ้าต้องการติดตั้งเพิ่ฒก็จะมี IPX/SPX, NetBEUI, AppleTalk เป็นต้นบริการเครือข่ายหรือ Network Servicesเป็นบริการที่ติดตั้งเพื่อให้ Windows Server 2003 รองรับกับการเชื่อมต่อเครือข่ายตามบริการที่ต้องการลูกข่ายที่ใช้ หรือ Network Clientsเป็นการที่กำหนดโปรแกรมเพื่ออนุญาตให้ติดต่อกับเครื่องอื่นๆ่ เช่น Microsoft Network, Netware Network เป็นต้นหมายเลขที่อยู่ หรือ Addressingเป็นค่าที่ใช้กำหนดตำแหน่งของเครื่อง โดยที่เครื่องต้องมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในโปรโตคอล TCP/IP จะมีการกำหนด IP Address และ Subnet mask ที่ใช้แยก NetworkID กับ HostID์การแก้ปัญหาชื่อ หรือ Name Resolutionการติดต่อด้วยชื่อจะทำให้ผู้ใช้นั้นง่ายต่อความเข้าใจ และการจำ ซึ่งบริการที่รองรับก็เช่น NetBIOS, DNS เป็นต้น กลุ่มเครื่องในเครือข่าย หรือ Network Computer กำหนดกลุ่มเพื่อใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น- Workgroup เป็นกลุ่มที่ช่วยให้เรียกใช้ทรัพยากร รองรับชื่อ NetBIOS และใช้โปรโตคอลต่างๆเข้าช่วยเช่น Common Internt File System (CiFS) และ Server Message Block (SMB) เพื่อแชร์ทรัพยากร และการเข้าดูชื่อเครื่อง- Domain เป็นการเก็บชื่อเครื่อง บริหารงานโดย Network Administrator ที่มีโครงสร้างรายชื่อ และการกำหนด Security policies มีประเภทของเรคคอร์ดที่แตกต่างกันตามหน้าที่Active Directory
เป็นระบบบัญชีรายชื่อแบบใหม่ โดยเป็นฐานข้อมูลที่ถูกกระจาย และเรพพลิเคตระหว่าง Domain Controller ซึ่งภายในประกอบด้วยออปเจคต่างๆเช่น User, Group, Computer, OUs และอื่นๆเป็นต้นใช้ระบบโครงสร้าง DNS เป็นโครงสร้างจัดลำดับชั้น และกำหนดการบริหารงานตาม Active Directory namespace และ DNS Namespace Remote Access
เป้นการกำหนดเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย Windows โดยไม่ใช่เครื่องที่อยู่ในท้องถิ่น มีสองวิธีคือการติดต่อหมุนโทรศัพท์โดยตรง หรือการติดต่อเครือข่ายที่มีอยู่กับ Virtual Private Networks (VPN) ซึ่งใน VPN นี้ผู้กำหนดต้องมีการรับรองการเข้าใช้ การอนุญาต และการเข้ารหัสNetwork Address Translation (NAT)
เป้นการแปลงหมายเลขที่อยู่จากเครือข่ายภายในให้ติดต่อภายนอก โดยอาศัยเครื่องตัวกลางเป็นผู้จัดการ (รู้จักกับเครือข่ายทั้งสอง) เช่น Internet Connection Sharing หรือ NAT Services เป็นต้องCertificate Infrastructure
เป็นโครงสร้างของการรับรอง Public key cryptography ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เครือข่าย Windows Server 2003 มีความปลอดภัย และเป็นกลไกที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่างๆเช่น SSL, IPSec, Smart Card และ EFS

Error code ของ Canon

Error code ของ Canon

E2-2 No paper (ASF)
E3-3 Paper jam
E4 No ink (กดปุ่ม Resume ค้าง 5 วินาทีก็สามารถพิมพ์ต่อได้)
E5-5 The ink cartridges are not installed or a non-supported ink cartridge is installed ,
or the ink cartridges are not installed properly
(E5 นี่อาการหนัก ถ้าเช็ดทำความสะอาดหน้าสัมผัสแล้วไม่หายก็ต้องซื้อตลับใหม่)

E7 (สำหรับรุ่น iP1880) ตลับเสีย


E8 Waste ink absorber full, or platen waste ink absorber full

E9 The connected digital camera / video camera does not support Camera
Direct Printing
E14 The Ink cartridges whose destination are wrong
(E14 นี่ก็อาการหนัก ต้องเข้า service mode ถึงจะพิมพ์ได้)

E15 Ink cartridge is not installed
E16 - Ink remaining is unknown ..(iP1800 ให้กด resume ค้าง 5 วินาที)
E16 -E19 Failed to scan head alignment sheet
E22 Carriage error
E23 Paper feed error
E24 Purge unit error
E25 ASF(cam) sensor error
E26 Internal temperature rise error
E27 Waste ink absorber full or platen waste ink absorber full
E28 Ink cartridge temperature rise error -
E29 EEPROM error
E33 Paper feed position error
E35 15 USB Host VBUD overcurrent error - USB
E37 17 Abnormal motor driver error
E40 20 Other hardware error
E42 22 Scanner error

Clear Buffer
==========
Clear Buffer Printer Canon PIXMA IP Series IP3000 IP3300 IP3500
ถ้าขึ้นไฟกระพริบ 16 ครั้ง(หมึกสีหมด) กระพริบ 4 ครั้ง (หมึกดำหมด) ให้กด Resume ค้าง 5 วินาที

Canon inkjet Printer PIXMA iP1500
Waste Ink Counter Reset.

Canon inkjet printer PIXMA iP1000
Waste Ink Counter Reset


Printer Canon GENERIC "S" SERIES RESET CODE
Waste Ink Counter Reset.
(1) Turn off the printer.
(2) Press and hold the RESUME button, then press and hold the POWER button.
(3) Release the RESUME button, Next press and release the RESUME button two(2) more times in
succession. Note: you are still holding the POWER button). The printer's carriage will "reset"
or move momentarily. If the above was properly performed the printer will enter the
"Service Mode".



(4) Press the RESUME button 4 times, this will select the clear waste ink counter function. The lamp
will alternate (change) color with each key press.
1. Service/Factory test printout, including ink sensor check.
2. EEPROM - Info printout.
3. EEPROM - Initialization.
4. Reset the Waste ink counter.
5. Printer model setting. (More selections beyond this point - However it is best leave them
unaltered - You have been warned!)
After selecting the desired mode (eg 4), press the POWER button to "set" the change, and return to the top of the function selection menu. Press the POWER button again to restart the printer.



Canon inkjet printer PIXMA iP1000 iP1800
Waste Ink Counter Reset
Manual for Service mode

1. Turn off the printer. And disconnect the printer cable.
2. Press and hold the POWER button, turn on the printer.
3. The indicator (L.E.D.) should be green.
4. Press and release the RESUME button , the indicator (L.E.D.) should be orange.
5. Press and release the RESUME button again, the indicator (L.E.D.) should be green.
6. Release both buttons.
พอเข้า Service mode ได้สำเร็จ ก็เปิดโปรแกรม iPtool กดปุ่ม clear counter




Canon inkjet Printer PIXMA iP1500
Waste Ink Counter Reset.
Manual for Service mode

1. Turn off the printer. And disconnect the printer cable.
2. Press and hold the POWER button, turn on the printer.
3. The indicator (L.E.D.) should be green.
4. Press and release the RESUME button , the indicator (L.E.D.)
should be orange.
5. Press and release the RESUME button again, the indicator
(L.E.D.) should be green
6. Release both buttons

Clear Buffer Canon Inkjet Printer "S" Series Canon BJC-210 BJC-240 BJC

Canon BJC 1000 inkjet Printer Serie
1: Remove Cartridge
2: Unplug the AC Power Cord
3: Hold down the RESUME button
4: Release RESUME after plugging in the AC Power cord.
5: Press the RESUME once within 5 seconds and release the RESUME .
6: Press and HOLD RESUME for two seconds or more and release it.
7: Press and HOLD RESUME for two seconds or more and release it.
8: Unplug AC Power Cord to set data.






Canon BJC-2000 BJC-2100 inkjet Printer Serie
1: Remove the Cartridge
2: Unplug the AC Power Cord
3: Close Front access panel
4: Hold down the RESUME/RESET button and plug in the AC power cord
5: Release RESUME/RESET after plugging in the AC Power cord.
6: Press the RESUME/RESET once within 5 seconds and release the RESUME/RESET .
7: Press and HOLD RESUME/RESET for two seconds or more and release it.
8: Press and HOLD RESUME/RESET for two seconds or more and release it.
9: Unplug AC Power Cord to set data.



Canon Inkjet Printer Series


Canon BJC-210 BJC-240 BJC-250 BJC-255 BJC-265
Canon BJC-4100 BJC-4200 BJC-4300 BJC-4400 BJC-4550 BJC-4650
1.Unplug Power Cord
2.Hold POWER and RESUME buttons
3.Plug in Power Cord
4.Release buttons
5 front door of printer
6.Hold the CARTRIDGE and RESUME buttons
7.Press POWER
Release all buttons after the beeps
Press CARTRIDGE once
Press RESUME


Canon inkjet Printer BJC-5000
1: Power off printer
2: Press and hold RESUME then press POWER, The indicator will start blinking.
3: While the indicator is blinking ,
4:Press RESUME twice then Wait until the printer beeps to indicate service mode
5: When the indicator lights steady GREEN,
press RESUME four(4)times. The indicator should be GREEN.
6: Press Power to set data
Service Test Print
1: Power off printer
2: Press and hold RESUME then press POWER, The indicator will start blinking.
3: While the indicator is blinking ,
4:Press RESUME twice then Wait until the printer beeps to indicate service mode
5: When the indicator lights steady GREEN, press RESUME two(2)times.
The indicator should be GREEN.
6: Press Power to Print
Nozzle Print
1: Power off printer
2: Press and POWER, until the printer beeps and release.
Demonstration Print
1: While the printer in ON , , Press and hold RESUME until the printer plays a melody of beeps.



Canon inkjet Printer BJC-5100
Self Test
Switch Printer off. Hold Power for 1 beep.


Waste Counter Reset
1: Power off printer
2: Press and hold RESUME then press POWER, The indicator will start blinking.
3: While the indicator is blinking ,
Press RESUME twice then Wait until the printer beeps to indicate service mode
4: When the indicator lights steady GREEN, press RESUME four(4)times. The indicator should be
GREEN.
5: Press Power to set data
Service Test Print
1: Power off printer
2: Press and hold RESUME then press POWER, The indicator will start blinking.
3: While the indicator is blinking ,
Press RESUME twice then Wait until the printer beeps to indicate service mode
5: When the indicator lights steady GREEN, press RESUME two(2)times.
The indicator should be GREEN.
6: Press Power to Print
Nozzle Print
1: Power off printer
2: Press and POWER, until the printer beeps and release.
Demonstration Print
1: While the printer in ON , , Press and hold RESUME until the printer plays a melody of beeps.



Canon Inkjet Printer series.
Canon BJC-3000 BJC-6000 BJC-6100 BJC-6200 S400 S450 F300 F600 F620
Canon BJC-7000 BJC-7100 BJC-8000 BJ-F800 i6500


1: Power off printer
2: Hold Resume button then press and hold POWER, the beeper will sound once.
3: Hold POWER and release RESUME
4: Press RESUME twice
5: When the indicator lights steady, press RESUME three(3) times. The indicator should be orange.
6: Press Power to set data



Inkjet Printer
Canon BJC-600 BJC-600e BJC-610 BJC-620
1: Unplug Power Cord
2: Hold POWER and FF and Print Mode buttons
3: Plug in Power Cord
4: Release after the beeps



Inkjet Printer

Canon BJC-50 BJC-55 BJC-80 BJC-85 M40 M70
1: Unplug Power Cord
2: Hold POWER and RESUME buttons
3: Plug in Power Cord
4: Release buttons after the printers starts up
5: Hold CARTRIDGE and RESUME
6: Press POWER
7: Release all buttons after the beeps
8: Press CARTRIDGE 16 times
9: Press RESUME
10: Unplug the Power cord


Inkjet Printer
Canon BJ-30 BJC-35v BJC-70
F14 Error Reset
1: Unplug adapter
2: Hold POWER
3: Plug in ADAPTER
4: Release POWER after printer starts
5: Hold FF and MENU and press POWER
6: Release after beeps
7: Press <> Cartridge until 1A is displayed
8: Press ONLINE
9: Press POWER to shutoff printer
10: Unplug printer then re-plug printer


Inkjet Printer
Canon BJ F900, F890, F700, F500, S900, S820, S750 and S520
Turn off the printer.
Press and hold the RESUME button, then press and hold the POWER button.
Release the RESUME button, then press and release the RESUME button two more times in succession. (youre still holding the POWER button during this). The printer mechanics will move momentarily.
You are now in Service mode.
Pressing the RESUME key will select a function; for example, pressing RESUME 4 times will select the clear waste ink counter function. The lamp will alternate color with each key press.
1. service/factory test printout, including ink sensor check
2. EEPROM info printout
3. EEPROM initialization
4. Clear the waste-ink counter
5. Printer model setting. (more selections beyond this- leave this alone)
After selecting mode, press the POWER button to commit the change, and return to the top of the function selection menu. Pressing the POWER button again turns off the printer for a restart

Reset ink Counter Canon Mp150/160 Printers
======================================

Befor Clear buffer Printers Canon inkjets printers
Enter Service Mode

Enter service Mode See code for reset belows



The number of the Reset
button pressing
LED Function Remarks
0 time Green Power off
1 time Orange Service pattern print
2 times Green EEPROM print
3 times Orange EEPROM reset
4 times Green Waste ink counter reset See waste ink counter reset
procedures below.
5 times Orange Destination setting See Destination setting
procedures below.
6 times Green Print head deep cleaning
11 times Orange Button / LCD checking
12 or more times Returns to a menu selection



Canon PIXMA iP4200 4300 6700 printer
=============================

Service Call Errors (by Cyclic Blinking in Orange (Alarm LED) and Green (Power LED), or Alarm LED Lit in Orange)

Service call errors are indicated by the number of cycles the Alarm and Power LEDs blink, and the corresponding error code is displayed on the LCD.

Cycles of blinking in orange (Alarm LED) and green(Power LED):

2 times Carriage error [5100] An error occurred in the carriage encoder signal.
Replacement
- Carriage unit (QM2-2298)
- Timing slit strip film (QC1-6394)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1
- Carriage motor (QK1-1500)

3 times Line feed error [6000] An error occurred in the line feed signal.
Replacement
- Timing sensor unit (QM2-2683)
- Timing slit disk film(QC1-6229)
- Feed roller ass'y (QL2-0925)
- Platen unit (QM2-2313)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1
- Paper feed motor (QK1-1502)


Cycles of blinking in orange (Alarm LED) and green(Power LED):
4 times Purge cam sensor error [5C00] An error occurred in the purge unit.

Replacement
- Purge unit (QM2-2299)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

5 times ASF (cam) sensor error [5700]
This error takes place when feeding paper
from the ASF after an error occurred in the
ASF cam sensor.

Replacement
- Sheet feed unit (QM2-2312)

6 times Internal temperature error[5400]
The internal temperature is not proper.

Replacement
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

7 times Waste ink absorber full [5B00]
The waste ink absorber is full.
Replacement
- Ink absorber kit (QY5-0147)

8 times Print head temperature rise error [5200]
The print head temperature exceeded the specified value.

Replacement
- Print head (QY6-0063)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

9 times EEPROM error [6800] A problem occurred in writing to the EEPROM.
Replacement
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

11 times Carriage lift mechanism error [5110]
The carriage did not move up or down properly.

Replacement
- PR lift shaft ass'y (QL2-0936)
- Sheet feed unit (QM2-2312)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1
- Carriage lift sensor unit (QM2-2678)

12 times AP position error [6A00] An error occurred in the AP motor during purging operation.
Replacement
- Sheet feed unit (QM2-2312)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1
- Purge unit (QM2-2208)

13 times Paper feed position error [6B00]
An error occurred in the paper feed motor.

Replacement
- Sheet feed unit (QM2-2312)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

14 times Paper feed cam sensor error [6B10]
An error occurred in the paper feed cam sensor
during paper feeding from the front paper feed cassette.

This error is also indicated when the waste ink counter is 60% or more, and a paper jam occurs.
Replacement
- Sheet feed unit (QM2-2312)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

15 times USB Host VBUS overcurrent [9000]
The USB Host VBUS is overloaded.
Replacement
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

16 times Valve sensor error [6C00] An error occurred in the valve sensor during cleaning.

Replacement
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1
- Purge unit (QM2-2208)

17 times Motor driver error [6D00] The AD conversion value indicating the motor
driver temperature is not proper.
Replacement
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

19 times Ink tank position sensor error [6502]
None of the ink tank position is detected.

Replacement
- Platen unit (QM2-2313)
- Logic board ass'y (QM2-2745)*1

20 times Other hardware error [6500] The PCI bus error is detected by the ASIC.

Error code canon mx328

Error code canon mx328
Error Code MX328
1. U051 = แผงวงจรของตลับหมึกไม่สัมผัสกับแผงวงจรในตัวเครื่อง
2. U053 = ถ้าเครื่องที่ติด Tank มีปัญหาเรื่องการเดินสาย
3. U0162 = ตลับหมึกสีหมด แก้ไขโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างจนหน้าจอเป็นเลข 1
4. U0163 = ตลับหมึกดำหมด แก้ไขโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างจนหน้าจอเป็นเลข 1
การรีเซตเครื่องใช้งาน Fax เป็น Auto กรณีหมึกหมด MX328
กด Menu → Fax Setting
กด Receive mode setting กด OK
กด User Setting → Auto Print เจอประโยค Print when out ink ใหเปลี่ยนจาก Off เป็น On
มาแจกกันอีกแล้วววว…
คราวนี้มาพร้อมกับ Error Code Canon MP145/150
E2(1000) No paper ไม่มีกระดาษในถาด
E3(1300) Paper jam กระดาษติด
E4(1600) No Ink หมึกหมด แก้ไขโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างจนเป็นเลข 1
E5(1401) The ink cartridges are not installed or a non-supported ink cartridge is installed or the ink cartridges are not installed properly ถ้าเช็ดทำความสะอาดหน้าสัมผัสแล้วไม่หายก็ต้องซื้อตลับใหม่ ตลับหมึกยังไม่ได้ใส่ หรือตลับหมึกเสีย
E6 เกิดจาก คอนแทค ระหว่างตลับกับเครื่องพิมพ์สกปรก ทำให้สัญญาณไฟฟ้าเดินไม่สะดวก ใช้แอลกอล์(ควรใช้น้ำยาคอนแทคคลีนเนอร์) เช็ดทำความสะอาด หายได้ สิ่งสกปรกที่พบก็คือหมึกพิมพ์ เช็ดให้สะอาดทั้งสองด้าน คือที่ตลับหมึกและปุ่มที่ติดตั้งตลับหมึกที่เครื่องพิมพ์ ทำทั้ง 2 ตลับ
E8(1700) Waste ink absorber full, or platen waste ink absorber full กด OK
E9(2001) The connected digital camera / video camera does not support Camera Direct Printing ช่อง PicBriged ต่อกล้องไม่รองรับกับเครื่อง
E14(1684) The Ink cartridges whose destination are wrong ช่องใส่ตลับหมึกทำงานผิดพลาด ตลับหมึกยังไม่ได้ใส่ หรือตลับหมึกเสีย
E15(1682) Ink cartridge is not installed E16 – Ink remaining is unknown ตลับหมึกยังไม่ได้ใส่ หรือตลับหมึกเสีย
E16(1686) วัดระดับหมึกในตลับได้ อาการตลับหมึกหมด แก้โดยกด ปุ่ม Stop/Reset ค้างจนเป็นเลข 1
E19 Failed to scan head alignment sheet อาการ สแกนผิดพลาด เกิดจากหัวสแกน ลองเปิด-ปิดเครื่องใหม่
E22(5100) Carriage error ชุดหัวพ่นหมึกติดขัด ถ้าเป็น Tank สายยางอาจจะไปขัดกับ Body ในตัวเครื่อง ให้ปิดเครื่องแล้วแก้ไขโดยจัดสายยางใหม่ แล้วลองเปิดใช้งานดู
E23(6000) Paper feed error ชุด Feed ป้อนกระดาษติดขัด เกิดจากเฟืองในชุด Feed ไม่ลง Lock ต้องแกะมาแก้ไข
E24(5C00) Purge unit error ชุดล้างหัวพ่นเสียหาย
E25(5700) ASF(cam) sensor error
E26(5400) Internal temperature rise error – อาการหัวพิมพ์ไหม้ หรือตลับหมึกเสีย ลองกด Stop/Reset ค้างไว้หรือ ลองเปลี่ยนตลับหมึกใหม่ถ้าเป็นรุ่น IP จะเป็นอาการ ไฟเหลืองกระพริบ 6 ครั้ง เขียว 1 ครั้ง
E27(5B00/5B01) Waste ink absorber full or platen waste ink absorber full
- ปิดเครื่อง
- กดปุ่ม Stop/Reset ค้างไว้ และตามด้วยปุ่ม ON/OFF ค้างตาม
- ในขณะที่ยังกดปุ่ม ON/OFF ค้างอยู่ ให้ปล่อยมือจากปุ่ม Stop/Reset
- ยังกดปุ่ม ON/OFF ค้างอยู่ ให้กดปุ่ม Stop/Reset อีก 2 ครั้ง เสร็จแล้วปล่อยมือจากปุ่มทั้ง 2 ปุ่ม
- ไฟสีเขียวจะกระพริบสักพักแล้วจะหยุด
- เมื่อไฟกลายเป็นสีเขียวค้าง กดปุ่ม Stop/Reset 4 ครั้ง
- กดปุ่ม ON/OFF เพื่อปิดปริ๊นท์เตอร์ (บางทีอาจต้องกด 2 ครั้ง เพื่อปิด)
- เปิดปริ๊นท์เตอร์ ก็จะใช้งานได้ตามปกติ
E28(5200) Ink cartridge temperature rise error -อาการ ตลับหมึกผิดพลาด ลองเปิด-ปิดเครื่องใหม่
E29(6800) EEPROM error หน่วยความจำในเครื่องผิดพลาด
E33(6B00) Paper feed position error ชุด feed กระดาษติดขัดหรือดูที่ E23
E35(9000) USB Host VBUD overcurrent error – USB
E37(6D00) Abnormal motor driver error ชุด Step motor ทำงานผิดพลาด หรือมอเตอร์เสีย
E40(6500) Other hardware error
E42(5010) Scanner error